เจ้าของกิจการหลายกิจการ ไม่ว่าจะเป็น startup หรือ SME ต่างมาสอบถามกันว่า จะนำเงินออก หรือจ่ายเงินให้เจ้าของยังไงได้บ้าง และแต่ละแบบมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร และภาษีในแต่ละแบบเป็นอย่างไรบ้าง เพราะว่าไม่ใช่อยู่ๆเจ้าของจะโอนเงินออกไปใช้ได้ตามใจเหมือนบัญชีส่วนบุคคลไม่ได้เลยนะครับ เพราะว่าการนำเงินออกจากบริษัทนั้นจะต้องชัดเจนว่านำออกไปจ่ายในเรื่องใด และเกี่ยวข้องกับธุรกิจของตัวเองหรือไม่ และมีใบเสร็จ หรือใบกำกับภาษี ที่ถูกต้องหรือไม่
หลักๆที่บริษัทจ่ายเงินหรือนำเงินออกให้กับเจ้าของในรูปแบบใดได้บ้าง?
1. จ่ายในรูปแบบเงินเดือน
บริษัทสามารถนำเงินออกให้กรรมการเป็นเงินเดือนได้ ซึ่งการจ่ายในรูปแบบนี้ทำให้บริษัทเสียภาษีลดลงได้ แต่การจ่ายในรูปแบบนี้กรรมการ หรือเจ้าของกิจการ นั้นถือว่ามีรายได้จะต้องนำรายได้นี้ไปคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการวางแผนภาษีที่ดี ก็สามารถหาจุดสมดุลได้
2. จ่ายในรูปแบบค่าบริการ
บริษัทสามารถจ่ายในรูปแบบค่าบริการได้ เช่น ค่าบริการที่ปรึกษา หรือจ่ายเป็นค่าเช่า ให้กับเจ้าของกิจการ หรือ กรรมการได้ แต่การจ่ายในรูปแบบนี้กรรมการ หรือเจ้าของกิจการ นั้นถือว่ามีรายได้จะต้องนำรายได้นี้ไปคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากมีการวางแผนภาษีที่ดี ก็สามารถหาจุดสมดุลได้
– รูปแบบค่าที่ปรึกษา หรือค่าบริการต่างๆ นั้นบริษัทต้องทำการ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% (WHT) ซึ่งบริษัทสามารถนำค่าใช้จ่ายอันนี้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
– รูปแบบค่าเช่า ในรูปแบบนี้ บริษัทต้องทำการ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% (WHT)
3. จ่ายในรูปแบบโบนัส
ก็จะคล้ายกับการจ่ายในรูปแบบเงินเดือน
ทุกท่านคงได้เห็นวิธีหลักๆในการนำเงินออกจากบริษัทให้กับกรรมการ หรือ เจ้าของกิจการแล้วนะครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเลือกวิธีการใด ก่อนการตัดสินใจทุกครั้งต้องมาวางแผนเรื่องภาษีให้ดีก่อนนะครับ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและตัวกรรมการ หรือตัวเจ้าของกิจการเอง หากต้องการที่ปรึกษา สามารถติดต่อกับทางเราได้นะครับ
Our company provide total solutions in Accounting for Business. We provide Company Registration , Accounting, Tax advisory, Social Security Fund, BOI Consult Service, BOI Audit, Audit Services.
Contact Us
Phone 02-114-7715
Web https://www.accconsultingservice.co …
Inbox http://m.me/100581915340875
Line https://lin.ee/PhD3G7F
Mail [email protected]