การที่เราจะเปิดบริษัท หรือ ทำธุรกิจ เราจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับเรื่องภาษีต่างๆ ว่าจะมีการเสียอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการโดนค่าปรับ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ เป็นภาษีที่เกิดจากกำไรที่ทางบริษัทขายของได้ กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย ก็จะทำกำไรที่ได้มาคำนวณภาษีที่จะต้องเสีย
อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ
- บริษัทหรือหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลทั่วไป มีอัตราภาษีร้อยละ 20
- นิติบุคคลที่มียอดขายไม่เกิน 5 ล้านบาท และมียอดรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท (SMEs)
(1) ยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาเริ่มต้นใน หรือหลัง 1 มกราคม 2560 แต่ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2560
(2) ร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิเฉพาะกิจการที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท
(3) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเฉพาะกิจการที่เกิน 3 ล้านบาท
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ.
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คือ เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ธุรกิจที่ดำเนินการในประเทศไทยและไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจเงินทุน, ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, และกิจการที่ดำเนินการเช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (ตามรายงาน ภ.ธ.40) โดยต้องส่งรายงานให้สรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายได้ในเดือนนั้นหรือไม่
ภาษีอากรแสตมป์
อากรแสตมป์เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์
เมื่อตราสารมีค่าสูงและต้องปิดอากรแสตมป์จำนวนมาก ตามราคาที่เป็นหลักพันบาท ผู้เสียภาษีสามารถเลือกใช้วิธีการเสียอากรแสตมป์ในรูปแบบเงินแทนการปิดอากรแสตมป์แบบปกติได้ โดยต้องติดต่อสำนักงานสรรพากรในพื้นที่หรือสาขาที่ใกล้ที่สุด และยื่นแบบคำขอ อ.ส.4 เพื่อชำระค่าอากรแสตมป์ด้วยเงิน