การบัญชีสำหรับการฝากขาย (Accounting for Consignments)
การฝากขายเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งของผู้ที่ประกอบกิจการการสินค้าประเภทขายปลีก (Retail product) ที่ช่วยทำให้เพิ่มช่องทางในการขายเพิ่มขึ้นโดยที่เราไม่ต้องไปลงทุนเปิดร้านตามที่ต่างๆ และยังเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางให้กับธุรกิจของท่านอีกด้วย
การฝากขาย (Consignments)
คือ เป็นการนำส่งสินค้าของบริษัทของตัวเองไปฝากขาย หรือเป็นตัวแทนในการขายสินค้าให้กับทางเรา โดยที่กรรมสิทธิ์ของสินค้ายังเป็นของผู้ฝากขาย (Consignor) จนกว่าจะขายสินค้านั้นได้ จึงโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นไปเป็นของผู้ซื้อ ซึ่งเราจะเรียกว่า ผู้รับฝากขาย (Consignee) ซึ่งผู้รับฝากขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้า แต่ต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ยังอยู่ในครอบครองของผู้รับฝากขาย ซึ่งผู้รับฝากขายจะได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นค่านายหน้า ซึ่งโดยปกติคำนวณเป็นอัตราร้อยละของราคาสินค้าที่ขายได้ และผู้ฝากขาย (Consignor) สามารถรับรู้รายได้เกิดขึ้นต่อเมื่อมีการขายเกิดขึ้น
ขั้นตอนของการฝากขาย
- เมื่อผู้ฝากขาย (Consignor) ส่งสินค้าที่ต้องการฝากขายไปที่ผู้รับฝากขาย (Consignee) มีขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ (1) การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกฝากขาย และ (2) การชำระค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ถูกฝากขายที่ส่งไปยังผู้รับฝากขาย
- เมื่อผู้รับฝากขาย (Consignee) ขายสินค้าฝากขายได้ มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ (1) หน้าที่ของผู้รับฝากขายในการดูแลสินค้าที่ถูกฝากขายให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการส่งมอบให้กับลูกค้า และ (2) การโอนความเสี่ยง ความรับผิดชอบ และสิทธิ์ในสินค้าที่ถูกฝากขายให้กับลูกค้าโดยผู้ฝากขาย (Consignor)
- เมื่อผู้รับฝากขาย (Consignee) ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าฝากขาย มีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ (1) การบันทึกการรับเงินค่าสินค้า และ (2) การคำนวณค่านายหน้าจากยอดขายสินค้าฝากขาย
- ผู้รับฝากขาย (Consignee) ต้องทำการจัดทำรายงานทุกสิ้นเดือน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ (1) การสรุปยอดคงเหลือในบัญชีรับฝากขาย และ (2) รายงานการขายรวมทั้งการส่งเงินที่ได้จากการขายสินค้าฝากขาย
หลักการสำคัญของการบัญชีสำหรับการฝากขาย
TFRS 15 กำหนดเกี่ยวกับสัญญาฝากขายที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการส่งผลิตภัณฑ์ไปยังบุคคลอื่น เช่น ผู้รับผิดชอบการจัดจำหน่ายหรือผู้จัดจำหน่าย เพื่อขายให้กับผู้บริโภค ซึ่งกิจการต้องพิจารณาว่าบุคคลดังกล่าวควบคุมผลิตภัณฑ์ที่จุดส่งมอบหรือไม่ ถ้าบุคคลนั้นไม่มีการควบคุม (Control) ผลิตภัณฑ์ ณ จุดส่งมอบ ผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบไปยังบุคคลนั้นจะถือว่าได้รับการถือครองตามสัญญาฝากขาย และในทางกลับกัน กิจการจะไม่รับรู้รายได้ในจุดส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังบุคคลนั้น หากผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการถือครองตามสัญญาฝากขาย
วิธีการลงบัญชีสำหรับการฝากขายสินค้า Accounting For Consignments
การบันทึกบัญชีของผู้ฝากขาย Consignor สามารถบันทึกได้ 2 วิธี
- บันทึกรายการสินค้าฝากขายแยกต่างหากจากการขายสินค้าตามปกต (แนะนำ และยกยกตัวอย่างการลงบัญชีใหดูแบบคราวๆ)
- บันทึกรายการสินค้าฝากขายรวมกับการขายสินค้าตามปกติของกิจการ
ข้อบ่งชี้ที่เป็นเกณฑ์ของรายการฝากขาย รวมถึงและไม่จำกัดเพียงรายการดังต่อไปนี้:
- ผลิตภัณฑ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกิจการจนกระทั่งเหตุการณ์ที่ระบุไว้เกิดขึ้น เช่น การขายผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าของผู้จัดจำหน่าย หรือจนครบตามกำหนดระยะเวลา
- กิจการที่สามารถขอให้ผลิตภัณฑ์ถูกคืนหรือกำหนดให้ส่งต่อไปยังบุคคลที่สาม เช่น ผู้จัดจำหน่ายอื่น
- ผู้จัดจำหน่ายไม่มีข้อผูกพันที่ปราศจากเงื่อนไขให้ชำระเงินสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (แม้ว่าอาจจะมีการกำหนดให้ชำระเงินมัดจำ)
TFRS 15 ได้กำหนดเกี่ยวกับอำนาจควบคุม (Control) ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในภาระที่จะต้องเสร็จสิ้น ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (Point in time) เพื่อระบุเมื่อลูกค้าได้มีอำนาจควบคุมสินทรัพย์ตามที่ตกลงกันและภาระงานที่ต้องเสร็จสิ้นลง กิจการต้องพิจารณาข้อกำหนดสำหรับอำนาจควบคุม ซึ่งอ้างอิงจากข้อบ่งชี้ของการโอนอำนาจ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าได้รับความสามารถในการสั่งการใช้งานและได้รับประโยชน์ที่เหลืออยู่ส่วนใหญ่จากสินทรัพย์ ลูกค้ามีสิทธิทางกฎหมายในสินทรัพย์ ลูกค้าครอบครองทางกายภาพของสินทรัพย์ ลูกค้ารับผิดชอบความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สำคัญของการเป็นเจ้าของในสินทรัพย์ ลูกค้ายอมรับสินทรัพย์แล้ว เป็นต้น
1.1. บันทึกรายการสินค้าฝากขายแยกต่างหากจากการขายสินค้าตามปกติ (เป็นวิธีที่นิยมใช้กัน)
- ส่งสินค้าไปยังผู้รับฝากขาย (Consignee)
บัญชีผู้ฝากขาย – บริษัท | XX | |
บัญชีสินค้า (ราคาทุน) | XX |
- ผู้ฝากขาย(Consignee) จ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆเกี่ยวกับสินค้าฝากขาย
บัญชีผู้ฝากขาย – บริษัท | XX | |
บัญชีเงินสดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝากขาย | XX |
- ได้รับรายงานการขายและเงินจากผู้รับฝากขาย
บัญชีเงินสด (กรณีผู้รับฝากโอนเงินมาด้วย) | XX | |
ลูกหนี้ – ผู้รับฝากขาย (กรณีผู้รับฝากขายไม่ได้โอนเงินมาด้วย) | XX | |
ฝากขาย – ระบุชื่อผู้รับฝากขาย (ค่าใช้จ่ายในการฝากขายในรายงานการ ขาย) | XX | |
บัญชีขายโดยการฝากขาย | XX |
- ลงด้นทุนสินค้าที่ส่งไปฝากขายและขายได้
บัญชีด้นทุนสินค้าฝากขาย | XX | |
บัญชีเงินสดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการฝากขาย | XX | |
บัญชีผู้ฝากขาย – บริษัท | XX |
เบื้องต้นเป็นรูปแบบตัวอย่างของการลงบัญชีสำหรับบริษัทที่มีการฝากขายสินค้า หากเจ้าของกิจการใดต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อมาได้ตามรายละเอียดด้านล่างได้เลยนะคะ
ภาษีมูลค่าเพิ่มVAT กรณีการฝากขายสินค้า (Consignments)
กรณีเป็นผู้ประกอบที่การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT แล้วนำสินค้าไปฝากขาย ณ ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ เมื่อผู้ผลิตสินค้าส่งมอบสินค้าให้แก่ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ เข้าลักษณะเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลคาเพิ่มตามมาตรา 77/2 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78 (1) แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ผลิตสินค้ามีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษีในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 86 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ผู้ผลิตสินค้าจะทำสัญญาแต่งตั้งให้ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อเป็นตัวแทนตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วยที่แนบ) ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ผลิตสินค้า จึงจะเกิดขึ้นเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ตามมาตรา 78 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีทำสัญญาฝากขายสินค้า (Consignments) กับนิติบุคคลต่างประเทศ (บริษัทต่างประเทศ)
กรณีที่บริษัทฯ ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่ผู้รับฝากสินค้าซึ่งเป็นคู่ค้าในต่างประเทศตามสัญญาฝากขายสินค้า (Consignments) ถือได้ว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้น เป็นการขายในประเทศไทยและให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งไปนั้นตามมาตรา ๗๐ ตรี แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ มีสิทธินำต้นทุนสินค้าดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ หากผู้รับฝากสินค้าขายสินค้าไม่ได้และมีการส่งสินค้าดังกล่าวกลับคืนให้แก่บริษัทฯในประเทศไทยภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศนั้น กรณีดังกล่าวไม่ถือเป็นการขายสินค้าในประเทศ ทั้งนี้ ตามมาตรา ๗๐ ตรี วรรคสอง (๔) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ สามารถปรับปรุงยอดขายตามตามแบบแสดงรายการที่ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกนั้น และนำสินค้าที่ส่งกลับคืนดังกล่าวมาคำนวณราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา ๖๕ ทวิ (๖) แห่งประมวลรัษฎากร
Our company provide total solutions in Accounting for Business. We provide Company Registration , Accounting, Tax advisory, Social Security Fund, BOI Audit, Audit Services.
Contact Us
Phone 02-114-7715
Web https://www.accconsultingservice.co …
Inbox http://m.me/100581915340875
Line https://lin.ee/PhD3G7F
Mail [email protected]