ในยุคที่การค้านานาชาติกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว, การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเป็นกิจกรรมที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตัวข้ามชาติ. ในกระบวนการนี้, Freight Forwarder เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถจัดการและประสานงานในการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศ ทำให้สินค้าสามารถถึงที่ได้ตรงตามเวลาที่กำหนด. อย่างไรก็ตาม, ในกระบวนการนี้มีประเด็นทางภาษีที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน. บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเรื่องภาษีในกรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดย Freight Forwarder และวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภาษี.
1. Freight Forwarder คืออะไร?
Freight Forwarder หมายถึง ตัวแทน ตัวกลาง หรือบริษัท ที่รับผิดชอบในการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยไม่ต้องเป็นเจ้าของเรือเดินทะเลหรือตู้คอนเทนเนอร์เอง แต่มีหน้าที่ทำการเช่าบริการจากทางเรือ, รถ, และสายการบิน เพื่อให้บริการในกระบวนการขนส่งสินค้า.
2. หน้าที่ของ Freight Forwarder
หน้าที่ของ Freight Forwarder ครอบคลุมตั้งแต่การจองระวางเรือ, การบรรจุสินค้า, การขนส่ง, การดำเนินการศุลกากรทั้งในขาเข้าและขาออก, รวมถึงการจัดการเอกสารที่จำเป็นต้องยื่นให้กับทางศุลกากร. สรุปคือ, Freight Forwarder ไม่เพียงแค่ช่วยในกระบวนการขนส่งสินค้า, แต่ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาทางภาษีและศุลกากร. ธุรกิจของคุณจะได้รับประโยชน์จากความเชี่ยวชาญและบริการครบวงจรของ Freight Forwarder ที่มีความเข้าใจในธุรกิจขนส่งสินค้าข้ามชาติ
3. ประเด็นภาษี กรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ Freight Forwarder
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./5768 |
วันที่ | :6 กรกฎาคม 2549 |
เรื่อง | :ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | :มาตรา 77/1(1),(10) และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัท ว. จำกัด เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forwarder) ทั้งทางเรือและทางอากาศโดยให้บริการแก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ซึ่งในการให้บริการจำเป็นต้องทำสัญญาหรือประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในประเทศต่าง ๆ บริษัทฯ ขอหารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายรับและรายจ่ายบางกรณีดังต่อไปนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการแยกห่อ (Break bulk fee) ในการจัดส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือกับบริษัท จ. จำกัด ซึ่งเป็น freight forwarder ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะออกใบตราส่งในนามของตนเอง (House Bill of Lading) สำหรับสินค้าของลูกค้าแต่ละรายในใบตราส่ง (Master Bill of Lading) จะปรากฏชื่อบริษัทฯ เป็นผู้ส่งสินค้าและบริษัทฯ จะเป็นทั้งผู้รับสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับสุดท้ายปลายทางตามที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งระบุไว้ในใบตราส่ง (House Bill of Lading) รวมทั้งต้องจัดการแยกสินค้าที่ส่งรวมกันมานั้นให้ตรงตาม House Bill of Lading เพื่อให้ผู้รับสินค้าสุดท้ายสามารถรับสินค้าและผ่านพิธีการศุลกากรในประเทศของตนได้ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่ 2. ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ-จ่าย ในการจัดการขนส่งสินค้าขาออก จากผู้ส่งสินค้าที่อยู่ในประเทศไทยไปยังผู้รับสินค้าในต่างประเทศ บริษัทฯ ต้องประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในต่างประเทศ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ 2.1 กรณีค่าระวางขนส่งเรียกเก็บต้นทางจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกแก่ผู้ส่งสินค้า และเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยพร้อมค่าระวางขนส่ง ทั้งนี้ ค่าระวางขนส่งได้ตกลงตามที่ประมูลแล้ว จึงสามารถเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดแล้วนั้น และต้องจ่ายค่าระวางขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน หรือ freight forwarder อื่นแล้วแต่กรณี ส่วนผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากผลต่างของค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่งที่จ่ายจริงนั้นจะต้องแบ่งกันตามข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.1.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยจำนวน 200 บาท และรับรู้รายได้ค่าระวางขนส่งเต็มจำนวน ถ้าต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 100 บาท บริษัทฯ จะได้กำไร 100 บาท กำไรจำนวนนี้ต้องแบ่งให้แก่ freight forwarder ในต่างประเทศครึ่งหนึ่งตามข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้น freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บส่วนแบ่ง 50 บาท บริษัทฯ รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่าย 2.1.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท เนื่องจากการปรับราคาของผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน แต่บริษัทฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติม เพราะราคาที่ตกลงนั้นเป็นราคาประมูลสำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันล่วงหน้า จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะมีผลขาดทุนทันที 50 บาท ในกรณีนี้ freight forwarder ในต่างประเทศ จะออกใบลดหนี้ให้บริษัทเพื่อชดเชยผลขาดทุน 25 บาท และบริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ในชื่อบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 2.2 ค่าระวางขนส่งเรียกเก็บปลายทางจากผู้รับสินค้าในต่างประเทศบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกเสร็จสิ้นแล้ว จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเพื่อเรียกเก็บค่าระวางขนส่ง โดยแสดงต้นทุนค่าระวางขนส่ง บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศจะตกลงร่วมรับผิดชอบในผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.2.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท ต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท กรณีนี้มีกำไร 100 บาท freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจำนวน 200 บาท จากผู้รับสินค้า ส่วนบริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเรียกเก็บต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท พร้อมส่วนแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งคือ 50 บาท รวมทั้งสิ้น 150 บาท และลงบัญชีเป็นรายได้ค่าระวางขนส่ง 100 บาท และค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 50 บาท 2.2.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท กรณีนี้จะมีผลขาดทุน 50 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งนี้เรียกเก็บไปยัง freight forwarder ในต่างประเทศ โดยแสดงรายการค่าระวางขนส่ง 250 บาท ตามราคาต้นทุน หักด้วยผลขาดทุนกึ่งหนึ่ง คือ 25 บาท รวมเงินที่เรียกเก็บ 225 บาท ทั้งนี้ บริษัทรับรู้รายได้ค่าระวางที่ 250 บาท และรับรู้รายจ่ายค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่ายจำนวน 25 บาท ;กรณีทั้ง 2.1 และ 2.2 บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศ จะร่วมมือกันและแบ่งสรรระหว่างกันทั้งผลกำไรและขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง บริษัทฯ เข้าใจว่า รายได้ (ส่วนแบ่งกำไร) และรายจ่าย (ส่วนแบ่งผลขาดทุน) ข้างต้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1. การประกอบกิจการของห้างฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น ห้างฯ ยังไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ต่อมาห้างฯ ได้รับสินค้ากลับคืนมาเพื่อนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน ห้างฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด 1. กรณีตาม 1. บริษัท จ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแยกห่อ เป็นค่าบริการในการทำหน้าที่เป็นผู้รับสินค้า แยกสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและไม่ได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด |
เลขตู้ | :69/34348 |
เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./5768 |
วันที่ | :6 กรกฎาคม 2549 |
เรื่อง | :ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | :มาตรา 77/1(1),(10) และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อหารือ | : บริษัท ว. จำกัด เป็นผู้ประกอบการธุรกิจให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forwarder) ทั้งทางเรือและทางอากาศโดยให้บริการแก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้า ซึ่งในการให้บริการจำเป็นต้องทำสัญญาหรือประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในประเทศต่าง ๆ บริษัทฯ ขอหารือเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับรายรับและรายจ่ายบางกรณีดังต่อไปนี้ 1. ค่าธรรมเนียมการแยกห่อ (Break bulk fee) ในการจัดส่งสินค้าออกจากประเทศไทยไปยังต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะประสานความร่วมมือกับบริษัท จ. จำกัด ซึ่งเป็น freight forwarder ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ จะออกใบตราส่งในนามของตนเอง (House Bill of Lading) สำหรับสินค้าของลูกค้าแต่ละรายในใบตราส่ง (Master Bill of Lading) จะปรากฏชื่อบริษัทฯ เป็นผู้ส่งสินค้าและบริษัทฯ จะเป็นทั้งผู้รับสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับสุดท้ายปลายทางตามที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งระบุไว้ในใบตราส่ง (House Bill of Lading) รวมทั้งต้องจัดการแยกสินค้าที่ส่งรวมกันมานั้นให้ตรงตาม House Bill of Lading เพื่อให้ผู้รับสินค้าสุดท้ายสามารถรับสินค้าและผ่านพิธีการศุลกากรในประเทศของตนได้ บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด ถูกต้องหรือไม่ 2. ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ-จ่าย ในการจัดการขนส่งสินค้าขาออก จากผู้ส่งสินค้าที่อยู่ในประเทศไทยไปยังผู้รับสินค้าในต่างประเทศ บริษัทฯ ต้องประสานความร่วมมือกับ freight forwarder ในต่างประเทศ ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ 2.1 กรณีค่าระวางขนส่งเรียกเก็บต้นทางจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกแก่ผู้ส่งสินค้า และเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยพร้อมค่าระวางขนส่ง ทั้งนี้ ค่าระวางขนส่งได้ตกลงตามที่ประมูลแล้ว จึงสามารถเรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดแล้วนั้น และต้องจ่ายค่าระวางขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน หรือ freight forwarder อื่นแล้วแต่กรณี ส่วนผลกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากผลต่างของค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่งที่จ่ายจริงนั้นจะต้องแบ่งกันตามข้อตกลงระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.1.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจากผู้ส่งสินค้าในประเทศไทยจำนวน 200 บาท และรับรู้รายได้ค่าระวางขนส่งเต็มจำนวน ถ้าต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 100 บาท บริษัทฯ จะได้กำไร 100 บาท กำไรจำนวนนี้ต้องแบ่งให้แก่ freight forwarder ในต่างประเทศครึ่งหนึ่งตามข้อตกลงร่วมกัน ดังนั้น freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บส่วนแบ่ง 50 บาท บริษัทฯ รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่าย 2.1.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท เนื่องจากการปรับราคาของผู้ประกอบการเดินเรือหรือสายการบิน แต่บริษัทฯ ไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติม เพราะราคาที่ตกลงนั้นเป็นราคาประมูลสำหรับช่วงเวลาที่ตกลงกันล่วงหน้า จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะมีผลขาดทุนทันที 50 บาท ในกรณีนี้ freight forwarder ในต่างประเทศ จะออกใบลดหนี้ให้บริษัทเพื่อชดเชยผลขาดทุน 25 บาท และบริษัทฯ ได้รับรู้เป็นรายได้ในชื่อบัญชีค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 2.2 ค่าระวางขนส่งเรียกเก็บปลายทางจากผู้รับสินค้าในต่างประเทศบริษัทฯ จัดการขนส่งสินค้าขาออกเสร็จสิ้นแล้ว จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเพื่อเรียกเก็บค่าระวางขนส่ง โดยแสดงต้นทุนค่าระวางขนส่ง บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศจะตกลงร่วมรับผิดชอบในผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางขนส่งที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางขนส่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 2.2.1 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท ต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท กรณีนี้มีกำไร 100 บาท freight forwarder ในต่างประเทศจะออกใบแจ้งหนี้ (Debit Note) เรียกเก็บค่าระวางขนส่งจำนวน 200 บาท จากผู้รับสินค้า ส่วนบริษัทฯ จะออกใบแจ้งหนี้ให้ freight forwarder ในต่างประเทศเรียกเก็บต้นทุนค่าระวางขนส่ง 100 บาท พร้อมส่วนแบ่งกำไรครึ่งหนึ่งคือ 50 บาท รวมทั้งสิ้น 150 บาท และลงบัญชีเป็นรายได้ค่าระวางขนส่ง 100 บาท และค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรรับ 50 บาท 2.2.2 ค่าระวางขนส่งที่ตกลงเรียกเก็บได้ 200 บาท แต่ต้นทุนค่าระวางขนส่งเป็น 250 บาท กรณีนี้จะมีผลขาดทุน 50 บาท บริษัทฯ จะออกใบแจ้งนี้เรียกเก็บไปยัง freight forwarder ในต่างประเทศ โดยแสดงรายการค่าระวางขนส่ง 250 บาท ตามราคาต้นทุน หักด้วยผลขาดทุนกึ่งหนึ่ง คือ 25 บาท รวมเงินที่เรียกเก็บ 225 บาท ทั้งนี้ บริษัทรับรู้รายได้ค่าระวางที่ 250 บาท และรับรู้รายจ่ายค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรจ่ายจำนวน 25 บาท ;กรณีทั้ง 2.1 และ 2.2 บริษัทฯ และ freight forwarder ในต่างประเทศ จะร่วมมือกันและแบ่งสรรระหว่างกันทั้งผลกำไรและขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง บริษัทฯ เข้าใจว่า รายได้ (ส่วนแบ่งกำไร) และรายจ่าย (ส่วนแบ่งผลขาดทุน) ข้างต้นไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1. การประกอบกิจการของห้างฯ ตามข้อเท็จจริงข้างต้น เข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ เว้นแต่กรณีที่ได้ออกใบกำกับภาษีก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ก็ให้ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้มีการกระทำนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น หากความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิดขึ้น ห้างฯ ยังไม่มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี ต่อมาห้างฯ ได้รับสินค้ากลับคืนมาเพื่อนำไปแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดที่ตกลงกัน ห้างฯ ไม่มีหน้าที่ต้องออกใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด 1. กรณีตาม 1. บริษัท จ. เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการแยกห่อ เป็นค่าบริการในการทำหน้าที่เป็นผู้รับสินค้า แยกสินค้า และเป็นผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและไม่ได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร ถือเป็นการให้บริการนอกราชอาณาจักรไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด ;2. กรณีตาม 2. บริษัทฯ รับจัดการขนส่งสินค้าขาออกและเรียกเก็บค่าบริการการจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศพร้อมทั้งค่าระวางขนส่งตามที่ได้ตกลงเรียกเก็บกันแน่นอนตั้งแต่ก่อนให้บริการ ดังนั้น หลังจากการให้บริการมีผลกำไรหรือขาดทุนจากค่าระวางสินค้าที่เรียกเก็บได้กับต้นทุนค่าระวางที่จ่ายจริง จึงไม่ถือเป็นค่าตอบแทนจากการขายสินค้าหรือให้บริการระหว่างบริษัทฯ กับ freight forwarder ในต่างประเทศตามมาตรา 77/1(8) และมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าตอบแทนและส่วนแบ่งกำไรและขาดทุนดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด |
เลขตู้ | :69/34348 |
เลขที่หนังสือ | : กค 0811/10115 |
วันที่ | : 22 ตุลาคม 2544 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเล |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65, มาตรา 67, มาตรา 79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ |
ข้อหารือ | : สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (THAI INTERNATIONAL FREIGHT FORWARDERS ASSOCIATION ) ได้หารือกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขนส่ง สินค้าทางทะเล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ 1. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาออก 1.1 ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 234 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ กำหนดให้การจ่ายค่าขนส่งอยู่ในบังคับต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 สมาคมฯเข้าใจว่า ค่าขนส่งของการขนส่งสินค้าทางทะเลขาออกหมายถึง ค่าระวาง (Freight) และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออก ได้แก่ ค่า CFS, THC และ B/L fee แต่เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติทั้งในส่วนราชการและเอกชนบางรายมีความเข้าใจว่า ค่าขนส่งของการขนส่งสินค้าทางทะเล ขาออก หมายถึงเฉพาะค่าระวาง (Freight) เท่านั้น 1.2 ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยคำนวณจากค่าระวาง (Freight) และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาออก ได้แก่ ค่า CFS, THC และ B/L fee 2. กรณีการขนส่งสินค้าทางทะเลขาเข้า 2.1 กรณี Freight Forwarder ในประเทศไทย ได้กระทำการในฐานะเป็น ตัวแทน ของ Forwarder ในต่างประเทศ เมื่อผู้ใช้บริการ (Consignee) จ่ายค่าระวาง (Freight) และ ประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า (CFS, THC, D/O fee, Status Fee) ให้กับ Freight Forwarder ผู้ใช้บริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เนื่องจากเป็นการจ่าย ค่าขนส่งสินค้าทางทะเลขาเข้า ซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่ผู้ใช้บริการยังมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของ ค่าบริการ (Handling Charge) ที่จ่ายให้กับ Freight Forwarder 2.2 Freight Forwarder ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าระวาง(Freight) และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า (CFS, THC, D/O fee, Status Fee)เนื่องจาก ค่าระวางและประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า ไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ Freight Forwarder มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จากค่าบริการ (Handling Charge) ในอัตราร้อยละ 7.0 3. สมาคมฯ หารือว่า ความเข้าใจของสมาคมถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. ฐานภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยสายการเดินเรือไทย และ สายการเดินเรือต่างประเทศ ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 และ มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.54/2537 เรื่อง การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับกิจการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดย เรือเดินทะเล และสำหรับกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2537 และข้อ 2 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.55/2538 เรื่อง ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีสำหรับการให้บริการรับขนคนโดยสารหรือสินค้าระหว่าง ประเทศ ลงวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2538 หมายถึงกรณีดังต่อไปนี้ (1) กรณีสายการเดินเรือไทย และสายการเดินเรือต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการ โดยตรง รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจาก การรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุ ในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทย (2) กรณีสายการเดินเรือไทย และสายการเดินเรือต่างประเทศรับขนของให้ผู้รับบริการ โดยผ่านผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) รายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือพึงได้ รับจากการรับขนของออกนอกประเทศไทยตามมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (บิลออฟเลดิง) ที่สายการเดินเรือไทย หรือสายการเดินเรือต่างประเทศ ออกให้กับ Freight Forwarder ไม่ว่าจะเรียกเก็บในหรือนอกประเทศไทยดังนั้น กรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุใน ใบตราส่งสินค้า (Master Bill of Lading) ให้กับสายการเดินเรือ โดยสายการเดินเรือออก ใบเสร็จรับเงินในนามผู้ใช้บริการ หรือกรณีเจ้าของสินค้า (Shipper) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้าของสายการเดินเรือ (Master Bill of Lading)ให้ กับ Forwarder โดย Forwarder ออกใบเสร็จรับเงินในนามของเจ้าของสินค้าหรือกรณีผู้ใช้บริการ (Shipper หรือ Forwarder A) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุใน ใบตราส่งสินค้าของ Forwarder B (House Bill of Lading) ให้กับ Forwarder B โดย Forwarder B ออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ใช้บริการ ถือเป็นการจ่ายค่าขนส่งซึ่งอยู่ในบังคับต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 234 (พ.ศ. 2544)ฯ และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 2. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและ ประโยชน์อื่นใดเนื่องจากการขนสินค้าขาเข้าตามที่ระบุไว้ในบิลออฟเลดิง ให้กับสายการเดินเรือไทย โดยที่สายการเดินเรือไทยจะต้องนำรายได้ที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการรับขนสินค้าขาเข้าไปรวมคำนวณ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงมีหน้าที่ ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1.0 ตามข้อ 12/4 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ดี หากปรากฏว่า สายการเดินเรือ ไทยเป็นสายการเดินเรือที่เข้าลักษณะตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ.2540 ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 3. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder) จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และ ประโยชน์อื่นใดเนื่องจากการขนสินค้าขาเข้าตามที่ระบุไว้ในบิลออฟเลดิง ให้กับสายการเดินเรือ ต่างประเทศ โดยที่ค่าขนส่งสินค้าขาเข้าไม่เป็นฐานภาษีในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย 4. กรณีผู้ใช้บริการ (Consignee หรือ Forwarder A) จ่ายค่าบริการเกี่ยวกับการขนส่ง สินค้าขาออกและการขนส่งสินค้าขาเข้าที่มิได้ระบุไว้ในบิลออฟเลดิงให้กับสายการเดินเรือไทยหรือ สายการเดินเรือต่างประเทศ หรือ Forwarder B ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2544 5. กรณี Freight Forwarder ในประเทศไทยได้กระทำการในฐานะเป็นตัวแทน เรียกเก็บเงินค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าขาเข้า ของ Freight Forwarder ในต่างประเทศ ซึ่ง Freight Forwarder ในประเทศไทยต้องมีหลักฐานหรือ เอกสารอื่นใดที่มีเนื้อหาแสดงว่ากระทำในฐานะเป็นตัวแทนของ Freight Forwarder ในต่างประเทศ และ Freight Forwarder ในประเทศไทยออกใบเสร็จรับเงินในนามของผู้ใช้บริการ กรณีผู้ใช้บริการ จ่ายค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดตามที่ระบุในใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading) ให้กับ Freight Forwarder ถือว่าผู้ใช้บริการจ่ายค่าขนส่งสินค้าขาเข้า ซึ่งไม่เป็นฐานภาษีในการเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ใช้บริการไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในส่วนที่กระทำการแทนนั้น แต่ผู้ใช้บริการยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา ร้อยละ 3.0 ของค่าบริการที่ Freight Forwarder ในประเทศไทยได้รับจากการดำเนินการแทนนั้น 6. ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 3 ของ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.54/2537 ฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537 หมายถึง รายได้ที่ได้รับหรือ พึงได้รับจากการให้บริการ โดยให้คำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการ เรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่ถูกสายการเดินเรือ เรียกเก็บ 7. ผู้ประกอบกิจการให้บริการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล (Freight Forwarder) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ใน อัตราร้อยละ 7.0 จากค่าบริการ ซึ่งค่าบริการที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 4 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.54/2537 ฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537 หมายถึง มูลค่าของค่าบริการ โดยให้คำนวณจากค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และ ประโยชน์อื่นใดที่ได้มีการเรียกเก็บจากผู้รับบริการ หักด้วยค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใด ที่ถูกสายการเดินเรือเรียกเก็บ |
เลขตู้ | : 64/30746 |