ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย

แนวทางปฏิบัติ กรณีการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิสินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก

        กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการทำลายของเสีย สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้า ที่หมดอายุ และเศษซาก กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งที่ ป. 79/2541 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 ดังต่อไปนี้

                        (1) ของเสียตามปกติ หมายถึงของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรรมวิธีการผลิต ซึ่งได้มีการกำหนดอัตราของเสียที่ถือว่าเป็นอัตราปกติของกรรมวิธีการผลิต

                        (2) ของเสียเกินปกติ หมายถึงของเสียที่เกิดขึ้นมากกว่าอัตราปกติที่ได้กำหนดไว้ในกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ

                        (3) เศษซาก หมายถึงเศษวัตถุที่เกิดจากกระบวนการผลิตบางประเภทซึ่งมีมูลค่ากลับคืนที่อาจวัดได้ แต่มีจำนวนน้อย

ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย

เลขที่หนังสือ : กค 0706/5525
วันที่ : 4 มิถุนายน 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายของเสีย
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : 
                 1. บริษัท บ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งเวชภัณฑ์ยา แจ้งให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่ เข้าร่วมเป็นพยานใน
                     การทำลายสินค้า (เวชภัณฑ์) ของเดือนพฤศจิกายน 2548 ถึงเดือนมกราคม 2549 มูลค่ารวม 3,146,187.16 บาท
                     ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับคืนจากลูกค้าเนื่องจากเสื่อมสภาพ มีตำหนิ หมดอายุ หรือหมดสมัยนิยม และได้ผ่านการ
                     ตรวจสอบโดยเภสัชกรประจำบริษัทฯ ว่าไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้อีก บริษัทฯ ได้ตั้งคณะกรรมการจากฝ่ายการ
                     ตลาด ฝ่ายบัญชี ฝ่ายประกันคุณภาพและแผนกคลังสินค้า เพื่อรับรองปริมาณและมูลค่าของสินค้าที่เสื่อมสภาพ
                2. สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ได้แจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการโดยต้องมีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วยฝ่ายคลังสินค้า
                    ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) เข้าร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย
                    เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีพร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีเข้าเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ เมื่อดำเนิน
                    การทำลายแล้วเสร็จให้บริษัทฯ ส่งรายงานการประชุมหรือการอนุมัติให้ทำลายสินค้าโดยมีผู้มีอำนาจ รายละเอียด
                    ที่ได้ทำลายจริงโดยมีบุคคลอย่างน้อยตามที่กล่าวข้างต้นและผู้สอบบัญชีที่ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์และได้ลง
                    ลายมือชื่อไว้เป็นพยาน พร้อมแจ้งให้ทราบด้วยว่า ได้ทำลายสินค้าดังกล่าวด้วยวิธีการใด เศษซากหรือสินค้าที่
                    ทำลายแล้วนั้นจะนำไปใช้หรือจำหน่าย ได้หรือไม่ อย่างไร
                3. เนื่องจากบริษัทฯ ไม่มีสถานที่และเครื่องมือทำลายสินค้าจึงได้ว่าจ้างบริษัท ก. จำกัด ทำลายสินค้าด้วยวิธี
                    บดทับแล้วฝังกลบ หลังจากนั้นบริษัทฯ ได้มีหนังสือ 2 ฉบับ รายงานการทำลายสินค้าเพิ่มเติมต่อสำนักงานสรรพากร
                    โดยมีภาพถ่ายเป็นหลักฐานแต่ไม่ได้แจ้งมูลค่าสินค้าที่ทำลายจริง และไม่ได้แจ้งว่าเศษซากสามารถนำไปใช้หรือ
                    จำหน่ายหรือไม่
               (1) การทำลายสินค้าดังกล่าว บริษัทฯ สามารถนำมาถือเป็นรายจ่าย ได้หรือไม่อย่างไร
               (2) ถ้าถือว่าเป็นรายจ่ายได้ให้ถือมูลค่าตามที่บริษัทฯ แจ้งการทำลายต่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ ก่อนการทำลาย
                     ใช่หรือไม่ เนื่องจากภายหลังการทำลายแล้วไม่มีการแจ้งมูลค่าที่ได้ทำลายจริงเพื่อทราบ
แนววินิจฉัย : 

                      กรณีบริษัท บ. จำกัด ประกอบกิจการขายส่งเวชภัณฑ์ยา ได้รับคืนสินค้าเวชภัณฑ์ยาจากลูกค้า
ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ บริษัทฯ จึงมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ เข้าร่วม
เป็นพยานในการทำลายสินค้า กรณีในวันทำลายสินค้าไม่มีผู้สอบบัญชีหรือผู้แทนมาเป็นพยานรับรองการทำลาย
สินค้าเนื่องจากบริษัทฯ ได้เปลี่ยนผู้สอบบัญชีใหม่ ณ วันที่ทำลายสินค้า และบริษัทฯ ไม่ได้แจ้งมูลค่าที่ทำลายจริง
และไม่ได้แจ้งว่าเศษซากสวามารถนำไปใช้หรือจำหน่ายนั้น เนื่องจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541ฯ
ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เป็นเพียงคำสั่งที่กำหนดให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวปฏิบัติใน
การตรวจสอบ และแนะนำการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการทำลายของเสียเท่านั้น ดังนั้น หากบริษัทฯ มี
เอกสารและหลักฐานที่ชัดแจ้งสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการทำลายสินค้าดังกล่าวจริง บริษัทฯ จึงมีสิทธินำมาถือเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) และ (14)
แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า

เลขที่หนังสือ : กค 0706/308
วันที่ : 15 มกราคม 2551
เรื่อง : ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการทำลายสินค้า
ข้อกฎหมาย : มาตรา 65 ตรี และมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : 

                  บริษัท ค. ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายอาหารธัญพืช โดยมีข้อเท็จจริงดังนี้
                  1. บริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2549 พบว่า มีสินค้าเน่าเสียจำนวนหนึ่ง และไม่สามารถ
                      นำออกขายได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2549 ผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือ จึงพิจารณา
                      รายการสินค้าคงเหลือที่ชำรุดเสียหาย
                  2. บริษัทฯ ได้ย้ายสถานประกอบการเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2550 บริษัทฯ ตรวจพบว่ามีสินค้าที่อยู่ในสภาพที่ชำรุด
                      เสียหาย และเน่าเสียอีกจำนวนหนึ่งฝ่ายโรงงานจึงเสนอให้มีการทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสีย ซึ่งไม่
                      สามารถจำหน่ายได้บริษัทฯ จึงขอทราบว่า กรณีบริษัทฯ ทำลายสินค้าที่ชำรุด เสียหาย และเน่าเสียดังกล่าว บริษัทฯ                              จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และบริษัทฯ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
แนววินิจฉัย : 

                       กรณีสินค้าเน่าเสียเสื่อมชำรุด เสื่อมคุณภาพ หรือล้าสมัย ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้หากบริษัทฯ ได้ทำลายสินค้าซึ่งชำรุดบกพร่องนั้นตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดแล้ว ไม่ถือเป็นการขายสินค้า ตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากมูลค่าสินค้า ที่ได้ทำลาย และบริษัทฯ มีสิทธิตัดต้นทุนที่เหลือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายสินค้าแล้วให้มีบุคคลอย่างน้อยประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขาย หรือฝ่ายตรวจสอบ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานใน การทำลายเพื่อใช้เป็น หลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งเชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้

           ผู้ประกอบการ,ผู้บริหาร, ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ท่านใดสนใจเกี่ยวกับ บริการ จัดทำรายงานการทำลายสินค้า และส่งผู้ตรวจสอบบัญชี ร่วมเป็นพยานในการทำลายสินค้า หรือ สนใจให้ทางบริษัทของเราเข้าดำเนินการตรวจนับสินค้า หรือตรวจนับสต๊อกสินค้า (Ending Inventory), บริการปิดงบการเงิน 2565, บริการด้านตรวจสอบบัญชี 2565,  Audit Services 2022, Financial Statement Audit สามารถติดต่อพวกเราได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะค่ะ 

         ✅โทร 📞 02-114-7715
         ✅ Web 🌐 https://www.accconsultingservice.com/
         ✅ Inbox 📩 http://m.me/100581915340875
         ✅ Line 📱 https://lin.ee/PhD3G7F
         ✅ Mail 📧 [email protected]
Facebook
Twitter
Pinterest

ความรู้/ข่าวสารที่คุณอาจสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า