ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs

ความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs

          ก่อนที่จะไปทำความรู้จัก PAEs กับ NPAEs เรามาทำความรู้จักกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทยก่อนเลย ซึ่งประเทศไทยมีมาตรฐานการรายงานทางการเงินของไทย (Thai Financial Reporting Standards -TFRSs) ที่อ้างอิงจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards – IFRSs) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวใช้กับนิติบุคคลที่มีหน้าที่จัดทําบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ไม่ว่าจะเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ หรือนิติบุคคลทั่วไปที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แต่โดยที่มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สําหรับ กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PubliclyAccountable Entities- PAEs) และมีความยุ่งยากซับซ้อน จากการใช้แนวคิดมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) เป็นหลักในการจัดทํารายงานทางการเงิน ซึ่งเป็นภาระและก่อให้เกิดต้นทุนในการจัดทํารายงานการเงินของ กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities- NPAEs) ที่ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก

Publicly Accountable Entities | PAEs

          กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (PubliclyAccountable Entities- PAEs) หมายถึง กิจการที่เข้าลักษณะดังต่อไปนี้

  1. กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ที่ซื้อขายในตลาดสาธารณะ
  2. กิจการที่นำส่งหรืออยูในกระบวนการนำส่ง งบการเงินให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) หรือหน่วยงานกำกับ ดูแลอื่นเพื่อออกขายหลักทรัพย์โดๆ ในตลาดสาธารณะ ได้แก่ กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักทรัพยและดูแลสินทรัพย์ฃองกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง ได้แก่ สถาบันการเงิน บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกัน วินาศภัย บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม และตลาดสินค้า เกษตรล้วงหน้าแห่งประเทศไทย
  3. บริษัทมหาชน
  4. กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเดิม โดยมี การจัดทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ (TFRS (2552)) ซึ่งประกอบด้วย แม่บทการบัญชี TAS 32 ฉบับ TFRS 4 ฉบับ TIC 4 ฉบับ และ TFRIC 1 ฉบับ
Publicly Accountable Entities | PAEs
Publicly Accountable Entities | PAEs

Non-Publicly Accountable Entities | NPAEs

          กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities- NPAEs) หมายถึง กิจการที่มิใช่ PAEs ที่มีการจัดทำบัญชีโดยใช้มาตรฐานการบัญชีชุดเล็ก (TFRS for NPAEs (2554)) หรือ มาตรฐานการบัญชีชุดใหญ่ หากไม่ประสงค์ที่จะจัดทำบัญชีตาม TFRS for NPAEs.

Non-Publicly Accountable Entities | NPAEs
Non-Publicly Accountable Entities | NPAEs

ความแตกต่าง ระหว่างมาตรฐาน TFRS PAEs กับ NPAEs

 
PAEs
NPAEs
งบการเงิน
– งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
– งบกำไรขาดทุน
– งบกระแสเงินสด
– งบกำไรขาดทุนค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ไม่กำหนดให้เปิดเผยค่าใช้จ่ายตามลักษณะ
– งบแสดงฐานะการเงิน 3 งวดบัญชี
 
– งบกำไรขาดทุนค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ต้องเปิดเผย เพิ่มเติมค่าใช้จ่ายตามลักษณะที่สำคัญ
 
เงินลงทุน
– ราคาทุนตัดจำหน่าย
– ราคาทุนหักด้วยค่าเผื่อการลดมูลค่า
– มูลค่ายุติธรรม (หลักทรัพย์เพื่อค้า/เผื่อขาย)
– มูลค่ายุติธรรมปรับผ่านงบกำไรขาดทุน&กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
ลงทุนในบริษัทย่อย
– ต้องทำงบการเงินรวม และต้องมีการรับรู้ส่วนแบ่ง ตามวิธีส่วนได้เสีย
– ไม่ต้องจัดทำงบการเงินรวมบันทึกราคาทุน
ผลประโยชน์พนักงาน
– ต้องมีการคำนวณจากหลักมาตรฐานคณิตศาสตร์ประกันภัย
– คำนวณด้วยวิธีประมาณการ โดยที่ผู้สอบ (Auditor) เห็นว่าสมเหตุสมผล
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
– ไม่ต้องตัดจำหน่าย(เหมือนกับคิดค่าเสื่อม) โดยให้ดูว่า ณ สิ้นปี มีการด้อยค่าหรือไม่
– ตัดจำหน่าย 10 ปี
รับรู้รายได้
– ตามหลัก TFRS15 5 ขั้นตอน*
– ยึดการถ่ายโอน หรือความเสี่ยงและผลตอบแทน ณ จุดใดที่มีการโอนจุดนั้นก็รับรู้รายได้
รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
– รับรู้รายได้เมื่อมีการโอน
– สามารถเลือกได้ 3 วิธี
 
1. รับรู้รายได้เมื่อมีการโอน
 
2. รับรู้รายได้ตามอัตราส่วนงานที่ทำสำเร็จ
 
3. รับรู้รายได้ ตามค่างวดที่โอนเมื่อถึงกำหนดชำระ
ภาษีเงินได้
– คำนวณภาษีเงินได้รอตัดบัญชี (Deferred Tax Assets) เพราะผลต่างระหว่างบัญชีและภาษีอาจเกิด สินทรัพย/หนี้สิน ภาษีเงินได้ หรือ Deferred Tax Asset|DTA/Deferred Tax Liability |DTL
– ไม่จำเป็นต้องคำนวณ ใช้เพียงบันทึกภาษีเงินได้ค้างจ่าย

* TFRS15 5 ขั้นตอน

TFRS 15 (Five-step Model Framework)
TFRS 15 (Five-step Model Framework)

          ผู้ประกอบการ,ผู้บริหาร, ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ท่านใดสนใจเกี่ยวกับ บริการตรวจสอบงบการเงิน หรือให้บริการที่ปรึกษาบัญชี กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมการผลิต, กลุ่มโรงงาน หรือ สนใจให้ทางบริษัทของเราเข้าดำเนินการตรวจนับสินค้า หรือตรวจนับสต๊อกสินค้า (Ending Inventory), บริการปิดงบการเงิน, บริการด้านตรวจสอบบัญชี,  Audit Services, Financial Statement Audit สามารถติดต่อ Audit Firm ของเราได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะค่ะ 

         ✅ โทร 📞 02-114-7715
         ✅ Web 🌐 https://www.accconsultingservice.com/
         ✅ Inbox 📩 http://m.me/100581915340875
         ✅ Line 📱 https://lin.ee/PhD3G7F
         ✅ Mail 📧 [email protected]
Facebook
Twitter
Pinterest

ความรู้/ข่าวสารที่คุณอาจสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า