เงินกู้ยืมกรรมการ คือ ???
เงินกู้ยืมกรรมการตามหลักการทางบัญชีแล้วนั้นถือว่าเป็นเงินบริษัท ที่กรรมการได้ทำการเบิกขอหรือยืมนำไปใช้ส่วนตัว ดังนั้นกรรมการจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ของกิจการ ซึ่งทางสรรพกรได้มีข้อบังคับให้คิดดอกเบี้ยในอัตราไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาด จึงทำให้ต้องมีการลงบัญชีว่ามีรายได้รับจากดอกเบี้ย ตรงนี้เพื่อนำมาคำนวณภาษี และการคิดดอกเบี้ยจะต้องมีการทำบันทึกรายการไปในงบการเงินด้วย
เงินกู้กรรมการส่วนใหญ่มักจะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงรายทางบัญชีที่ไม่มีการเกิดขึ้นจริง หลักๆสาเหตุที่ทำให้เกิดเงินกู้ยืมกรรมการ มักมีดังนี้
กรรมการนำเงินภายในกิจการไปใช้ส่วนตัว
มีรายจ่ายบางรายการนำมาลงบัญชีไม่ได้เนื่องจากอาจมีปัญหากับกรมสรรพากรได้ จึงนำมาลงไว้ในเงินกู้ยืมกรรมการแทน
เกิดจากการจดทะเบียนบริษัทโดยที่ไม่มีเงินจริงตามจำนวนที่ยื่นจดทะเบียน จึงทำให้นักบัญชีนำจำนวนเงินที่ขาดหายไปมาลงเป็นเงินกู้ยืมกรรมการแทน
ปิดบัญชีไม่ลงตัว หรือ เงินหายไปจากกิจการโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนที่หายจึงนำมาลงเป็นเงินกู้ยืมแก่กรรมการแทน
เงินกู้ยืมกรรมการ บันทึกบัญชีอย่างไร ?
Dr.เงินกู้ยืมกรรมการ xx.-
Cr.เงินสด xx.-
ดังนั้นก็จะมีหลายๆท่านสอบถามเข้ามาว่าจะ ล้างลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ ที่ค้างมานาน หรือจะตัดลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ ที่ค้างๆมานาน ทิ้งอย่างไรดี
วิธีที่ 1 ตัดเป็นหนี้สูญ ยกหนี้ให้กรรมการไปเลย ซึ่งการทำในกรณีนี้ จะต้องมีการผ่านมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ก่อน ซึ่งการตัดหนี้สูญ เงินกู้ยืมกรรม หรือยกหนี้ เงินกู้ยืมกรรม นั้นทางสรรพกรถือว่าเป็น รายจ่ายต้องห้าม เพราะว่าไม่เข้าเงื่อนไขรายจ่าย และกรรมการที่ได้รับยกหนี้นั้น จะต้องนำเงินส่วนที่ได้รับยกหนี้ มาคำนวณเป็นรายได้ของกรรมการ 40 (2)
วิธีที่ 2 ซึ่งหลายบริษัทได้นำมาวิธีนี้มาปฏิบัติ คือ จ่ายเป็นโบนัส ให้กรรมการ ซึ่งการจ่ายโบนัสนั้นบริษัทสามารถใช้เป็นรายจ่ายของกิจการได้อีกด้วย
Our company provide total solutions in Accounting for Business. We provide Company Registration , Accounting, Tax advisory, Social Security Fund, BOI Consult Service, BOI Audit, Audit Services.
Contact Us
Phone 02-114-7715
Web https://www.accconsultingservice.co …
Inbox http://m.me/100581915340875
Line https://lin.ee/PhD3G7F
Mail [email protected]