การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อ ของผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ได้ประกอบกิจการที่มีทั้ง VAT และ NON VAT ซึ่งเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการนำสินค้าหรือบริการที่ได้มา เพื่อทำนำประกอบกิจการของตนเอง หรือ ใช้ในทั้งในกิจการ VAT และ NON VAT ซึ่งไม่สามารถแยกได้ว่าใช้ในกิจการ
ทำไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?
การที่ผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ประกอบกิจการทั้งในประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้นเป็นประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำสิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ โดยหากไม่เฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าภาษีซื้อทั้งจำนวนนั้นเป็น “ภาษีต้องห้าม” นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อนั้นๆ โดยในทุกกรณี แม้ว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะถูกนำไปใช้ในกิจการทั้งสองประเภทก็ตาม ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสินค้าหรือบริการใดเป็น VAT หรือ NON VAT ก็ตาม
มาตรา 82/6 เฉลี่ยภาษีซื้อ
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการ ทั้งประเภท VAT และ NOT VAT และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของต้นไปใช้ หรือจะใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3
ธุรกิจใดบ้างที่ต้อง “เฉลี่ยภาษีซื้อ”
การประกอบกิจการที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อจะขึ้นอยู่กับลักษณะและการใช้สินค้าหรือบริการในกิจการนั้น ๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของสถานการณ์ที่อาจจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ
- กิจการรับเหมาก่อสร้าง (VAT) + กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NAN VAT)
- กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NAN VAT) +กิจการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (VAT)
- กิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NAN VAT) + กิจการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)
เฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?
การเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากรในประเทศไทยและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ต้องสอบถามในการเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างถูกต้อง ดังนี้
- การเฉลี่ยภาษีซื้อทั่วไปหรือตามส่วนของรายได้:
- ทำการประมาณการสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งปีในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT).
- ใช้สัดส่วนนี้ในการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วนที่เกิดกับทั้ง VAT และ NON VAT.
- การเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร:
- ประมาณการสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารระหว่างกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT).
- ใช้สัดส่วนนี้ในการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วนที่เกิดกับทั้ง VAT และ NON VAT.
- การเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด:
- หากไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามรายได้หรือสัดส่วนได้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม และผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ (ข้อ 5 (7) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)).
ปัญหาการเฉลี่ยภาษีซื้อ
การเฉลี่ยภาษีซื้อมันจะมีปัญหาในการปฎิบัติอยู่เสมอ เนื่องจากเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งผู้ประกอบการ ที่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะหากผิดพลาดแล้วอาจจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม สำหรับปัญหาที่พบอยู่เสมอในการเฉลี่ยภาษีซื้อ มีดังนี้
- กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการายได้สำหรับปีที่พึ่งเริ่มประกอบการหรือประกอบกิจการแล้วยังไม่มีรายได้ของปีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ของปีที่คาดว่าจะเริ่มมีรายได้ แต่มีสิทธิขอเครดิตภาษีซื้อได้ไม่เกินกึ่งหนุ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ผู้ประกอบการ ประมาณรายได้ในส่วนกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มากกว่าร้อยละ 50 และขอเครดิตภาษีซื้อเกินกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ยซึ่งจะมีผลทำให้การยื่นภาษีซื้อของเดือนภาษีนั้นยื่นไว้เกินไป (ส่วนของภาษีซื้อที่เกินกึ่งหนึ่ง) ทำให้ต้องเสียเบี้ยวปรับและเงินเพิ่ม
- ฐานรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็นฐานรายได้ตาม มาตรา 79 (ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม) และรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งเป็นรายได้ที่ต้องนำไปยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือ ภ.ธ.40 ไม่ใช่รายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องยื่นแบบตาม ภ.ง.ด.50
- ในการเฉลี่ยภาษีซื้อจาการก่อสร้างอาคารมักจะมีปัญหาในการแบ่งแยกพื้นที่อาคารว่าส่วนใดเป็นพื้นที่อาคารที่ใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และส่วนใดของอาคารที่ใช้ในกิจการอื่น จึงต้องแบ่งแยกพื้นที่ของอาคารให้ชัดเจน ตามแนววินิจฉัยของกรมสรรพกร