ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับความหมายของคำว่า ” รอบระยะเวลาบัญชี “
ระยะเวลาบัญชี คืออะไร ?
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
- รอบระยะเวลาบัญชีตามบทบัญญัติมาตรา 65 ของประมวลรัษฎากร สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องมีระยะเวลาเท่ากับ 12 เดือน โดยรอบระยะเวลาบัญชีนี้จะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้.
- ในกรณีที่มีรอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ตามที่กฎหมายอนุญาต จะมีกรณีเฉพาะดังนี้:
– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เริ่มต้นกิจการใหม่ จะถือวันเริ่มต้นถึงวันใดก็ได้เพื่อกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีแรก แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปจะต้องมีระยะเวลาเท่ากับ 12 เดือน.– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอการเปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นสมควรและอนุญาต โดยรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เปลี่ยนจะต้องน้อยกว่า 12 เดือน.
– ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ จะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานทะเบียนเป็นวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี.
– บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รวมการดำเนินกิจการ จะถือว่าเข้ารวมและเป็นการยุบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น รอบระยะเวลาบัญชีที่เข้ารวมกันจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในข้อ (ค) และอาจน้อยกว่า 12 เดือน.
ในกรณีที่บริษัทยุบกิจการและยังไม่ได้จบการบัญชี แต่มีกำไรสุทธิ จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายเพราะต้องถือว่าบริษัทยังคงเป็นนิติบุคคลจนกว่าการบัญชีจะเสร็จสิ้น.
- รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจถูกขยายเกิน 12 เดือน ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเลิกกิจการ และผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสียภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แต่ถ้าคำร้องขอถูกยื่นต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรสามารถพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีได้ โดยที่รอบระยะเวลาบัญชีนี้อาจเกิน 12 เดือน
การเปลี่ยนรอบบัญชีต้องทำอย่างไร
เอกสารทีต้อวเตรียมเพิ่อทำการเปลี่ยนรอบบัญชี
- แบบคำขออนุญาต( ส.บช. 4) จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
- สำเนาหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล กรณีเป็นนิติบุคคล
- สำเนาทะเบียนพาณิชย์ กรณีเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย หรือบุคคลธรรมดา
- สำเนาการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร กรณีเป็นกิจการร่วมค้า
- สำเนาหนังสือของกรมสรรพากรที่อนุญาตให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี (ถ้ามี)
- สำเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่อนุมัติให้เปลี่ยนรอบปีบัญชี
- สำเนารายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือสำเนาข้อบังคับของบริษัท อย่างใดอย่างหนึ่ง (ถ้ามี)
- สำเนาแบบนำส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน (ส.บช. 3) ครั้งสุดท้ายก่อนการขออนุญาต
- หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรครบถ้วนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลมอบหมายให้ผู้อื่นทำการแทน)
ทั้งนี้ สำเนาเอกสารประกอบคำขออนุญาตทุกฉบับจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลพร้อมประทับตราสำคัญ(ถ้ามี) หรือโดยผู้รับมอบอำนาจแล้วแต่กรณี บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีข้อบังคับระบุเรื่องรอบปีบัญชีให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีพร้อมกับการขอจดทะเบียนข้อบังคับ โดยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานบัญชีประจำท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชีสำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจกรม พัฒนาธุรกิจ การค้า
กรณีเป็นนิติบุคคลที่มีสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนรอบปีบัญชีต่อสารวัตรบัญชีประจำสำนักงานประจำท้องที่จังหวัด ณ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่นิติบุคคลดังกล่าวตั้งอยู่หรือจะยื่นต่อสารวัตรใหญ่บัญชี สำนักงานกลางบัญชี ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีแล้วจึงจะเปลี่ยนรอบปีบัญชีได้ ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีอนุญาตแล้วจะมีหนังสือแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร