ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ประจำปี 2565 (Value Added Tax) หรือ VAT ปี 2565 เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยที่อัตราที่ผู้ประกอบการจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยตาม มาตรา 80 คือ 10% โดยแบ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% และภาษีท้องถิ่นอีก 1% มาตั้งแต่ปี 2535 แต่ปี 2540 ได้มีการออกพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษี VAT ซึ่งจะพิจารณาต่อในทุกๆ 2 ปี เหลือที่ 7% เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนในช่วงที่ประเทศเจอวิกฤตเศรษฐกิจการเงิน มาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับสูตรการคำนวณ VAT ปี 2565 คือ มูลค่าราคาสินค้า/บริการ x อัตราภาษี (7%) = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ใครบ้างต้องมีหน้าที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
ผู้ที่ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือในวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดา ,ห้างหุ้นส่วน,หรือนิติบุคคล หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี มีหน้าที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน
วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ที่ต้องเสีย = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ภาษีขาย > ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชาระ
ภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืนหรือขอเครดิตภาษี
ภาษีขาย (Output Tax) คืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เรียกเก็บ หรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการ
ภาษีซื้อ (Input Tax) คืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้า หรือผู้ให้บริการที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อซื้อสินค้าหรือชำระค่าบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตน ภาษีซื้อที่จะนำมาหักได้นี้คลุมไปถึงภาษีซื้อของสินค้าประเภททุนด้วย
ทำธุรกิจที่เข้าเกณฑ์การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่มิได้จดทะเบียนจะมีความผิดอย่างไร ?
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขายสินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระในแต่ละเดือนภาษี
- เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
- ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนฯ ไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ (ภาษีขาย)
ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อไร ?
- การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30
ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องยื่นแบบภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม โดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป - การยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.36
2.1. กรณีเป็นผู้จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงิน ให้แก่ ผูู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้า หรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว หรือ ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
2.2. กรณีเป็นผู้ทอดตลาดซึ่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือส่วนราชการซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ถูกยึดมาตามกฎหมายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาด มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ขายทอดตลาด
2.3. กรณีเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือเป็นผู้รับโอนสิทธิในบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 มีหน้าที่ต้องยื่นแบบพร้อมชำระภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
Our company provide total solutions in Accounting for Business. We provide Company Registration , Accounting, Tax advisory, Social Security Fund, BOI Consult Service, BOI Audit, Audit Services, FDA license services, Importation License and Product Registration at FDA.
Contact Us
Phone
02-114-7715
Web
https://www.accconsultingservice.co …
Inbox
http://m.me/100581915340875
Line
https://lin.ee/PhD3G7F
Mail
[email protected]