ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากรที่เก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนของการผลิต และจำหน่ายสินค้า/บริการ ซึ่งจะรวมที่ผลิตภายในประเทศ และนำเข้ามาจากต่างประเทศ (ตามประมวลรัษฎากรมีอัตราเดียว คือร้อยละ 10 ยังไม่รวมภาษีส่วนท้องถิ่น) แต่มีการปรับลดลงชั่วคราว เหลือร้อยละ 6.3 ภาษีท้องถิ่น 0.7 จึงเท่ากับอัตราร้อยละ 7 ที่จัดเก็บในปัจจุบัน ในวันที่ วันที่ 24 ส.ค. 2564 ได้มีมติเห็นชอบการขยายเวลาลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จาก 10% เหลือ 7% ต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 30 ก.ย. 2566
VAT 0
VAT 0 คือผู้ประกอบการมีรายได้แต่ไม่เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT = 0 แต่ผู้ประกอบการยังคงต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 โดยแสดงรายการภาษีซื้อและรายการภาษีขาย โดยตาม มาตรา 80/1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(3)
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 )
(2) การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) )
การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศให้รวมถึง การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร เพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอุตสาหกรรมส่งออกเพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตอุตสาหกรรมส่งออก เพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.104/2544 )
(3) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 33) พ.ศ.2541 ใช้บังคับ 1 ม.ค. 2542 เป็นต้นไป )
(4) การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) )
“(5) การขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่
(ก) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
(ข) องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
(ค) สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 49) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
“(6) การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บนหรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการ ี่อยู่ในเขตปลอดอากรไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด”
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) )
คลังสินค้าทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
Non VAT การยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ( Non VAT ) คือ ผู้ประกอบกิจการไม่ต้องนำรายได้มาคำนวณภาษี แต่จะต้องมีการนำมารวมคำนวนใน แบบ ภ.พ.30 ข้อ 3
โดยจะมีกิจการบางประเภทเท่านั้นที่จะได้รับการยกเว้น ที่เป็นไปตาม มาตรา 81 ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(1) การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออก หรือการให้บริการ ดังต่อไปนี้
(ก) การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า ดอก หัว ฝัก เมล็ด หรือส่วนอื่น ๆ ของพืช และวัตถุพลอยได้จากพืช ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสดหรือรักษาสภาพไว้ เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่ง ด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็งหรือด้วยการจัดทำ หรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้น หรือด้วยวิธีอื่น ข้าวสาร หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสีข้าว แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้ หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 32/2538 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.28/2535 )
(ข) การขายสัตว์ ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ทั้งนี้ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราวในระหว่างขนส่งด้วยการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง หรือด้วยการจัดทำหรือปรุงแต่งโดยวิธีการอื่น หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเพื่อการขายปลีก หรือขายส่งด้วยวิธีการแช่เย็น แช่เย็นจนแข็ง ทำให้แห้ง บด ทำให้เป็นชิ้นหรือด้วยวิธีอื่น แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ตามลักษณะ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.29/2535 )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 3) )
(ค) การขายปุ๋ย
(ง) การขายปลาป่น อาหารสัตว์
(จ) การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษา ป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
(ฉ) การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
( ดูคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 32/2538 )
(ช) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
(ซ) การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรมในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 11) )
(ฌ) การให้บริการการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ หรือการประกอบวิชาชีพอิสระอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยอนุมัติรัฐมนตรี ทั้งนี้ เฉพาะวิชาชีพอิสระที่มีกฎหมายควบคุม การประกอบวิชาชีพอิสระนั้น
(ญ) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(ฎ) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ทั้งนี้ ในสาขา และลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 12) )
( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 238) )
(ฏ) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
(ฐ) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
(ฑ) การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
(ฒ) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ ทั้งนี้ เฉพาะบริการในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
( ดูคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.120/2545 ) ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 13) )
(ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร
( ดูพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 241) พ.ศ. 2534 )
(ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.49/2537 )
(ต) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.90/2542 )
( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.107/2544 )
(ถ) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น กิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
(ท) การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
(ธ) การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
(น) การขายสินค้าหรือการให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 321) พ.ศ.2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 327) พ.ศ.2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 333) พ.ศ.2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 336) พ.ศ.2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 343) พ.ศ.2541 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 347) พ.ศ.2542 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 370) พ.ศ.2543 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 401) พ.ศ.2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 403) พ.ศ.2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 404) พ.ศ.2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 408) พ.ศ.2545 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 448) พ.ศ.2549 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 486) พ.ศ.2552 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 489) พ.ศ.2552 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 510) พ.ศ.2554 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 546) พ.ศ.2555 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 585) พ.ศ.2558 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 608) พ.ศ.2559 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 662) พ.ศ.2561 )
( ดูพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 759) พ.ศ.2565 )
(2) การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
(ก) สินค้าตาม (1) (ก) ถึง (ฉ)
” (ข) สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น “
( พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 35) พ.ศ. 2544 )
(ค) สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
(ง) สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยได้คืนอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
(3) การส่งออกซึ่งสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการประกอบกิจการตามมาตรานี้ อธิบดีจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดลักษณะของกิจการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรานี้ก็ได้ และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษา และหากกิจการนั้นมิได้เป็นไปตามลักษณะ และเงื่อนไขที่กำหนดกิจการนั้นจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรานี้
VAT 0 vs Non VAT
VAT 0 | Non VAT |
ผู้ประกอบการต้องจด VATและมีหน้าที่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 | ไม่ต้องจด VAT และไม่ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 |
ขอคืนภาษีซื้อได้ | ไม่มีสิทธิ์ใช้ภาษีซื้อ |
ต้องออกใบกำกับภาษี | ออกแค่ใบเสร็จรับเงิน |