ภาษีองค์กร VS สวัสดิการพนักงาน

ภาษีสวัสดิการพนักงาน

สวัสดิการ คือ ?

          ความหมายของคําว่า “สวัสดิการ” ที่ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้คำนิยาม

          “สวัสดิการ” หมายถึง “การกินดีอยู่ดี” หรือ Well-being ซึ่งถ้าจะขยายความออกไปก็อาจกล่าวได้ว่า คือภาวะของการมีสุขภาพดีมีความเจริญรุ่งเรือง และมีความสุข ถ้าเกี่ยวกับด้านแรงงานก็หมายถึง สิ่งหรือ สถานการณ์ที่นายจ้างจัดให้เพื่อความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนั่นเอง ซึ่งการดําเนินการเพื่อให้เกิดภาวะที่มีความสะดวกสบาย หรือความกินดีอยู่ดีของลูกจ้างนี้มิได้หมายความว่า เป็นความรับผิดชอบของนายจ้างแต่ฝ่ายเดียว รัฐบาลและสหภาพแรงงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย


          “สวัสดิการ” หมายถึง บริการหรือกิจกรรมใดๆ ที่หน่วยงานราชการ หรือองค์กรธุรกิจเอกชนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้ข้าราชการ พนักงาน หรือผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรนั้นๆ ได้รับความสะดวกสบายในการทํางานมีความมั่นคงในอาชีพ มีหลักประกันที่แน่นอนในการดําเนินชีวิต หรือได้รับประโยชน์อื่นใดนอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เป็นประจํา ทั้งนี้เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกําลังใจที่ดีเพื่อจะได้ใช้กําลังกาย กําลังใจ และสติปัญญาความสามารถของตนในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ไม่ต้องวิตกกังวล ปัญหายุ่งยากทั้งในทางส่วนตัวและครอบครัวทําให้มีความพอใจในงาน มีความรักงานและตั้งใจที่จะทํางานนั้นให้นาน
ที่สุด สําหรับสวัสดิการที่สมบูรณ์แบบนั้นย่อม หมายถึง สวัสดิการที่ให้แก่ลูกจ้าง ทั้งในขณะที่ทํางาน (On–the–Job) นอกเวลาทํางานแต่ยังอยู่ในที่ทํางาน (Off–the–jobwithin the workplace) นอกสถานที่ทํางาน (Outside the workplace) นอกจากนั้นจะต้องไม่ให้เฉพาะลูกจ้างเท่านั้น แต่จะต้องรวมถึงครอบครัว และชุมชนด้วย

1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานในแง่ของกฎหมายภาษีองค์กร

         สวัสดิการที่นายจ้างมีได้มอบให้กับพนักงานนั้น เพื่อให้ลูกจ้างนั้นมีชีวิต และสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานดีขึ้น และช่วยทำให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น และต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน จึงจะสามารถใช้เป็นหลักฐานทางภาษีอากร สวัสดิการบางประเภทที่พนักงาน ที่ทางกิจการได้บันทึกเป็น ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน ซึ่งพนักงาน ได้รับจากกิจการ อาจจะไม่ต้องรวมเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1)

          ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามประมาลรัษฎากรและหากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากค่าสวัสดิการพนักงาน ดังกล่าว ก็สามารถเครดิตภาษีซื้อ หรือขอคืนได้ แต่สวัสดิการดังกล่าวจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ข้อดังต่อไปนี้

  1. ต้องมีระเบียบสวัสดิการ และติดประกาศข้อบังคับปฏิบัติอย่างชัดเจน และพนักงานต้องรับรู้และรับทราบกันทุกคน
  2. ต้องไม่เลือกปฏิบัติกับพนักงานกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นพิเศษ โดยต้องปฏิบัติให้พนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน แต่สามารถจะแตกต่างกันตามลำดับขั้นของพนักงานได้ แต่ต้องไม่แตกต่างกันในระดับขั้นเดียวกัน
  3. จะต้องทำให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ และมีผลต่อการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงานทุกระดับชั้น

         

          จึงจะทำให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นรายจ่ายของกิจการ และนำมาคำนวณ กำไรสุทธิของกิจการได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร  หากไม่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด จะไม่ถือว่าเป็นสวัสดิการพนักงาน ถือว่าเป็นรายจ่ายส่วนตัวให้โดยเสน่หา ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามของกิจการ มาตรา 65 ตรี(3)

2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานที่ข้องกับ VAT

         รายจ่ายค่าสวัสดิการพนักงาน หากไม่เข้าข่าย ตามมาตรา 82/5 ภาษีซื้อต้องห้ามทั้ง 6 กรณี สามารถขอภาษีซื้อคืนได้

ภาษีซื้อต้องห้าม มาตรา 82/5   ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีตามมาตรา 82/3

  1. กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

           ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) )  

       2. กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

           ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) )  

       3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

           ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) )  

       4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

           ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) )  

       5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีตามส่วน10

           ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) )  

       6. ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

          ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) )
          ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 121) )
          ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 129) )
          ( ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 151) ) 

3. ตัวอย่างสวัสดิการให้พนักงาน​

ตัวอย่าวสวัสดิการ 1
ตัวอย่าวสวัสดิการ 1
ตัวอย่าวสวัสดิการ 2
ตัวอย่าวสวัสดิการ 2

บทสรุปเกี่ยวกับภาษีสวัสดิการพนักงาน​

          ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานด้านสวัสดิการ หากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติ ให้ถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3)และ(13)แห่งประมวลรัษฎากร แต่จะต้องพิจารณาต่อไปว่าค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้นถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรหรือไม่

ตัวอย่างข้อหารือทางภาษี ค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพนักงาน​

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9276
วันที่: 9 พฤศจิกายน 2548
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินค่าสวัสดิการของพนักงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(1) มาตรา 65 ตรี (3) และ (13)
ข้อหารือ: บริษัท ก. จำกัด มีระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ กำหนดไว้เป็นลายลักษณ์
อักษรเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการของพนักงาน กล่าวคือ บริษัทฯ มีนโยบายคิดค่า
สวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นพนักงานทดลอง
งาน พนักงานรายวันหรือพนักงานรายเดือนที่ยังคงสภาพเป็นพนักงานของ
บริษัทฯ ณ วันที่ 31 สิงหาคมของทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน
และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่างๆ เช่น งานกีฬาสี การจัดงานเลี้ยง
เทศกาลปีใหม่ ฯลฯ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรง ทั้งนี้ไม่
รวมถึงค่าชุดเครื่องแบบของพนักงาน การคิดเงินสวัสดิการพนักงาน จะคิดให้
ในอัตราคนละ 3,000 บาท พนักงานทั้งสิ้น 257 คน รวมเงินสวัสดิการจำนวน
771,000 บาท (เจ็ดแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) จะถูกจ่ายจากบัญชีของ
บริษัทฯ เป็นยอดเดียว และนำเงินทั้งหมดเก็บเข้าไว้ในบัญชี “คณะกรรมการ
สวัสดิการ” โดยบัญชีดังกล่าวจะแยกออกจากบัญชีของบริษัทฯ มีคณะกรรมการ
ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาจากลูกจ้างในบริษัทฯ ตามมาตรา 96 แห่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นผู้ดูแลบัญชีสวัสดิการพนักงาน
ดังกล่าวและเป็นผู้ควบคุมเรื่องการเบิกจ่าย มีการทำบัญชีเก็บไว้เป็น
หลักฐาน จึงขอหารือว่า
1. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินสวัสดิการให้พนักงาน จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายของ
บริษัทฯ ได้หรือไม่
2. ค่าสวัสดิการที่ให้กับพนักงานดังกล่าวนั้น จะถือเป็นรายได้ของพนักงาน
แต่ละคนซึ่งต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินเข้าบัญชีคณะกรรมการสวัสดิการ และ
คณะกรรมการฯ ได้นำเงินดังกล่าวไปจัดงานและกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสวัสดิการ
ให้แก่พนักงาน กรณีจึงเข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มอันถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์
ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่ง
ประมวลรัษฎากร เว้นแต่สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจาก
การให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้น
ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวล
รัษฎากร
2. กรณีบริษัทฯ จ่ายเงินเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานตาม 1. ถือเป็นรายจ่าย
เพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว
หรือการให้โดยเสน่หา บริษัทฯ สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไร
สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 68/33665
เลขที่หนังสือ: กค 0706/6969
วันที่: 13 กรกฎาคม 2550
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์แก่พนักงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (3) และมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ        บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ในกรณีที่ใช้รถยนต์ส่วนตัวในกิจธุระของบริษัทฯ ตามอัตราที่กำหนดและประกาศให้พนักงานทราบทุกสิ้นเดือน โดยบริษัทฯใช้อัตราราคาน้ำมันที่สูงที่สุดในเดือนนั้น ๆ ของกระทรวงพลังงานมาคำนวณเพื่อจ่ายคืนแก่พนักงานเดือนละครั้ง และต้องระบุรายละเอียดการเดินทางและกิจธุระที่ทำในหน้าที่ของพนักงานพร้อมใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันที่จ่ายจริง บริษัทฯ หารือว่า
        1. บริษัทฯ จะบันทึกค่าน้ำมันที่จ่ายให้กับพนักงานเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
        2. พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำเงินได้ที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
แนววินิจฉัย        1. กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ให้กับพนักงานของบริษัทฯ ตามจำนวนที่จ่ายจริงในกรณีที่พนักงานใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางไปทำงานให้บริษัทฯ ถือเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับการประกอบกิจการของบริษัทฯบริษัทฯ มีสิทธินำค่าน้ำมันดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับค่าน้ำมันรถยนต์ส่วนที่บริษัทฯ ได้จ่ายไปเกินกว่าจำนวนที่พนักงานของบริษัทฯ ได้จ่ายไปจริง ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่าย ตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร
        2. กรณีพนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำค่าน้ำมันในกรณีนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42(1) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น จะต้องมีหลักฐานการใช้รถยนต์และพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมิน ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นด้วยประกอบกับบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถยนต์ได้และมีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ใดถึงที่ใด ระยะเวลาทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียนรถยนต์ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถยนต์ที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถยนต์ให้ชัดเจน
เลขตู้: 70/35139
เลขที่หนังสือ: 0702/2065
วันที่: 9 มีนาคม 2561
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีสวัสดิการพนักงาน

 

 

ข้อกฎหมาย: มาตรา 42 (17),มาตรา 65 ตรี (3) มาตรา 65 ตรี (13),มาตรา 70 (1), และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

 

 

ข้อหารือ

 

           2. บริษัทฯ ระบุสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ โดยระบุไว้ในคู่มือพนักงาน ซึ่งการให้สวัสดิการดังกล่าวเป็นการให้สวัสดิการโดยทั่วไปแก่พนักงานทุกคน ดังนี้


                2.1 การตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัทฯ พนักงานประจำของบริษัทฯ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


                2.2 การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ พนักงานประจำของบริษัทฯ และสมาชิกครอบครัวสามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


                2.3 เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร พนักงานประจำของบริษัทฯ ทั้งหญิงและชาย สามารถเบิกค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินยอดวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


                2.4 เงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรม โดยพนักงานที่ไม่สามารถมีบุตรได้เอง

ที่ได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามวงเงินที่บริษัทฯ กำหนด


                2.5 การจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตและทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรแบบกลุ่ม และการจ่ายเบี้ยประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์ โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิต สูญเสียอวัยวะบางส่วน หรือทุพพลภาพถาวร ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น


                2.6 การจ่ายค่าเบี้ยประกันโรคร้ายแรงแบบกลุ่ม ซึ่งระบุชื่อของบริษัทฯ ในกรมธรรม์

โดยพนักงานจะได้รับค่าชดเชยหรือค่าสินไหมทดแทนกรณีพนักงานประสบโรคร้ายแรงที่ระบุในกรมธรรม์ในช่วงที่เป็นพนักงานของบริษัทฯ เท่านั้น


           บริษัทฯ จึงหารือว่า พนักงานบริษัทฯ ที่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวข้างต้น จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำผลประโยชน์ที่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่

และบริษัทฯ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายในการให้สวัสดิการแก่พนักงานดังกล่าวมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

แนววินิจฉัย

 

           1. กรณีการตรวจสุขภาพประจำปีตาม 2.1 และเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตรตาม 2.3

หากบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่พนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปและเป็นไปตามระเบียบของบริษัทฯ ถือเป็น

ค่ารักษาพยาบาลที่พนักงานได้รับจากบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ส่วนที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้าง

จ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้าง สำหรับการรักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน

ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้าง ทั้งนี้ เฉพาะสำหรับการรักษาพยาบาลที่กระทำในประเทศไทย

ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (4) (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509


           2. กรณีค่าฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดหรือโรคระบาดอื่น ๆ ซึ่งมิใช่วัคซีนที่ใช้รักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น ตาม 2.2 ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามข้อ 2 (4) (ก)

ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร


           3. กรณีเงินช่วยเหลือพนักงานกรณีรับบุตรบุญธรรมตาม 2.4 มิใช่เงินที่เป็นค่ารักษาพยาบาลที่นายจ้างจ่ายให้หรือจ่ายแทนลูกจ้างเป็นค่ารักษาพยาบาล ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อ

เสียภาษีเงินได้ ตามข้อ 2 (4) (ก) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 การให้เงินช่วยเหลือพนักงานดังกล่าว ถือเป็นประโยชน์เพิ่มอันเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร พนักงานของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร


           4. กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันตาม 2.5 และ 2.6 หากบริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันภัยกลุ่มแทนพนักงานให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักร สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มที่มีกำหนดเวลาไม่เกิน 1 ปี เฉพาะในส่วนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง สามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของลูกจ้างแล้ว เงินได้เท่าที่บริษัทฯ ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันดังกล่าว ได้รับยกเว้นตามข้อ 2 (77) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ


           5. กรณีบริษัทฯ จ่ายสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่พนักงาน หากบริษัทฯ มีระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการให้สวัสดิการดังกล่าวที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป บริษัทฯ มีสิทธินำเงินที่จ่ายไปนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้: 81/40595

         ผู้ประกอบการ,ผู้บริหาร, ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ท่านใดสนใจเกี่ยวกับ บริการการที่ปรึกษาบัญชีและภาษี, จัดทำรายงานการทำลายสินค้า และส่งผู้ตรวจสอบบัญชี ร่วมเป็นพยานในการทำลายสินค้า หรือ สนใจให้ทางบริษัทของเราเข้าดำเนินการตรวจนับสินค้า หรือตรวจนับสต๊อกสินค้า (Ending Inventory), บริการปิดงบการเงิน, บริการด้านตรวจสอบบัญชี,  Audit Services, Financial Statement Audit สามารถติดต่อพวกเราได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะค่ะ 

 
         ✅โทร 📞 02-114-7715
         ✅ Web 🌐 https://www.accconsultingservice.com/
         ✅ Inbox 📩 http://m.me/100581915340875
         ✅ Line 📱 https://lin.ee/PhD3G7F
         ✅ Mail 📧 [email protected]
Facebook
Twitter
Pinterest

ความรู้/ข่าวสารที่คุณอาจสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า