Wnding inventory

สินค้าคงเหลือ (Inventory) VS ประเด็นทางบัญชี และ ภาษี

สินค้าคงเหลือ (inventory) คืออะไร?

          สินค้าคงเหลือ ในทางการบัญชี หมายถึง ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย ซึ่งในทางบัญชีสินค้าคงเหลือ แบ่งได้ดังต่อไปนี้

  • วัตถุดิบ (Raw Material: RM) คือ สินค้าที่ซื้อเข้ามาเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อแปรสภาพให้ เป็นงานระหว่างทำและสินค้าสำเร็จรูป
  • สินค้าระหว่างการผลิต (Work-In-Process: WIP) คือ สินค้าที่กำลังอยู่ในกระบวนการผลิต ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และต้องรอเข้ากระบวนการผลิตในขั้นถัดไป โดยมีต้นทุนเช่นเดียวกับสินค้าสำเร็จรูป
  • สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods :FG) คือ สินค้าที่ผลิตโดยสมบูรณ์อยู่ในสภาพสมบูรณ์และถูกจัดเก็บไว้อย่างถูกต้องและเตรียมพร้อมที่จะขาย โดยมีต้นทุนประกอบด้วยวัตถุดิบ ค่าแรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต

           จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าสินค้าคงเหลือ จำเป็นต้องวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้เพื่อที่จะได้แสดงในงบการเงินได้อย่างถูกต้อง โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการบันทึกสินค้าคงเหลือ นั้นจะต้องใช้ ราคาทุน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจริงในระหว่างผลิตสินค้านั้น ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ค่าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต โดยอ้างอิงจากราคาที่ซื้อตามใบกำกับภาษีจากผู้ขาย หักด้วยประมาณการของส่วนลดการค้า(จากผู้ขาย)
  • ค่าแรงในการผลิต ให้คิดคำนวณจากค่าจ้างรายวันหรือรายเดือน นำมาคำนวณเป็นต้นทุนในการผลิต
  • ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมา เช่น ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่ง ค่าภาษีอากร เป็นต้น

วิธีการคำนวณต้นทุนขายสินค้าคงเหลือ (inventory)

          สินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญเพราะเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้และผลกำไร/ขาดทุนโดยตรงให้กิจการ ดังนั้นก่อนการทำบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ นักบัญชีควรเลือกวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือให้เหมาะสม และอธิบายเหตุผลของวิธีการเลือกให้กับ ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) โดยมีให้เลือกหลายวิธี ซึ่งหลักๆจะมีวิธีในการคำนวณต้นทุนขายอยู่ 3 วิธี ดังนี้

  • วิธีเข้าก่อน ออกก่อน (First-in , First –out : FIFO) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากเพราะเข้าใจได้ง่าย ตามหลักความเป็นจริงแล้วสินค้าที่เข้ามาก่อนย่อมต้องออกไปก่อนทุกครั้ง ดังนั้นต้นทุนของสินค้าที่ซื้อเข้ามาก่อนจะเป็นต้นทุนขายและต้นทุนสินค้าที่เข้ามาทีหลังจึงเป็นสินค้าคงเหลือ หากทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆเมื่อใกล้สิ้นปีสินค้าคงเหลือจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับตลาดมากที่สุดสะท้อนฐานะทางการเงินของกิจการได้ใกล้เคียงกับความจริง
  • วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average) คือ จะทำการเฉลี่ยต้นทุนให้กับสินค้าทุกหน่วยหน่วยละเท่าๆกัน โดยนำผลรวมราคาทุนของสินค้าทั้งหมดหารด้วยจำนวนหน่วยสินค้าที่ขาย จากนั้นนำมาถ่วงน้ำหนักในแต่หน่วยสินค้า ซึ่งเหมาะกับสินค้าย่อยปริมาณมากๆและปะปนกัน แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถสะท้อนราคาที่แท้จริงของตลาดได้ ซึ่งอาจทำให้งบการเงินมีความคลาดเคลื่อน
  • วิธีคิดราคาทุนที่ระบุเฉพาะ (Specific) เป็นวิธีการคิดมูลค่าของสินค้าแบบเฉพาะเจาะจง เนื่องจากสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับสินค้ามูลค่าสูงมีการขายไม่บ่อยนัก เช่น เครื่องเพชร สินค้าสั่งทำจำเพาะ รถยนต์ หรือเครื่องจักรชนิดพิเศษ เป็นต้น ซึ่งการบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธีนี้ต้องเลือกสินค้าให้เหมาะสม เพราะอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงเกินจำเป็นในงบการเงิน ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์สถานะการเงินของกิจการได้

หลักการบัญชี VS กฎหมายภาษีอากร ของสินค้าคงเหลือ

หลักการบัญชี

  • จุดที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง
    สินค้าคงเหลือ คือ การตีราคาสินค้าคงเหลือ ณ วันสิน้ ปี
  • ตีราคาสินค้าโดยเปรียบเทียบราคาทุนกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะตํ่ากว่า
  • ถ้าหากราคาทุนสูงกว่ามูลค่าสุทธิทีี่จะได้รับ (Net Realizable Value: NRV) กิจการต้องปรับมูลค่าสินค้า
    คงเหลือสิน้ ปีให้แสดงในมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ รับรู้ผลต่างเป็นขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ
  • ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าคงเหลือ ถือเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขาย

กฎหมายภาษีอากร

  • สรรพากรให้ตีราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
  • โดยคำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาด แล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า
  • ถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาทุนให้ใช้ราคาตลาดเป็นราคาของสินค้าคงเหลือสิน้ ปี และให้ถือราคานีเ้ป็น
    ราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย ส่วนต่างกรณีราคาตลาดตํ่ำกว่าราคาทุน
    ให้ถือเป็นต้นทุนสินค้าที่ขายในงบกำไรขาดทุน สำหรับการคำนวณราคาทุนนัน้ ให้ใช้ตามหลักการบัญชี

มาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร เกี่ยวกับ สินค้าคงเหลือ

มาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
มาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร

          Our company provide total solutions in Accounting for Business. We provide Company Registration , Accounting, Tax advisory, Social Security Fund, BOI Consult Service, BOI Audit, Audit Services.

       📌 Contact Us

✅ Phone 📞 02-114-7715
✅ Web 🌐 https://www.accconsultingservice.co …
✅ Inbox 📩 http://m.me/100581915340875
✅ Line 📱 https://lin.ee/PhD3G7F
✅ Mail 📧 [email protected]

Facebook
Twitter
Pinterest

ความรู้/ข่าวสารที่คุณอาจสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า