Apportionment of Purchase Tax

เฉลี่ยภาษีซื้อ

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร

          การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อ ของผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ได้ประกอบกิจการที่มีทั้ง VAT   และ NON VAT ซึ่งเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการนำสินค้าหรือบริการที่ได้มา เพื่อทำนำประกอบกิจการของตนเอง หรือ ใช้ในทั้งในกิจการ VAT และ NON VAT ซึ่งไม่สามารถแยกได้ว่าใช้ในกิจการ

ทำไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?

         การที่ผู้ประกอบการที่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ประกอบกิจการทั้งในประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้นเป็นประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำสิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มไปใช้ โดยหากไม่เฉลี่ยภาษีซื้อจะถือว่าภาษีซื้อทั้งจำนวนนั้นเป็น “ภาษีต้องห้าม” นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการต้องชำระภาษีซื้อนั้นๆ โดยในทุกกรณี แม้ว่าสินค้าหรือบริการนั้นจะถูกนำไปใช้ในกิจการทั้งสองประเภทก็ตาม ถ้าไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสินค้าหรือบริการใดเป็น VAT หรือ NON VAT ก็ตาม

มาตรา 82/6 เฉลี่ยภาษีซื้อ

        ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการ ทั้งประเภท VAT   และ NOT VAT และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของต้นไปใช้ หรือจะใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนั้นเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/3

ธุรกิจใดบ้างที่ต้อง “เฉลี่ยภาษีซื้อ”

        การประกอบกิจการที่อาจจำเป็นต้องเฉลี่ยภาษีซื้อจะขึ้นอยู่กับลักษณะและการใช้สินค้าหรือบริการในกิจการนั้น ๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างของสถานการณ์ที่อาจจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ

  • กิจการรับเหมาก่อสร้าง (VAT)  + กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NAN VAT)
  • กิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ (NAN VAT) +กิจการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ (VAT)
  • กิจการขายพืชผลทางการเกษตร (NAN VAT) + กิจการส่งออกพืชผลทางการเกษตร (VAT)

เฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร ?

          การเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากรในประเทศไทยและประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) กำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ต้องสอบถามในการเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างถูกต้อง ดังนี้ 

  1. การเฉลี่ยภาษีซื้อทั่วไปหรือตามส่วนของรายได้:
    • ทำการประมาณการสัดส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งปีในกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT).
    • ใช้สัดส่วนนี้ในการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วนที่เกิดกับทั้ง VAT และ NON VAT.
  2. การเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร:
    • ประมาณการสัดส่วนการใช้พื้นที่อาคารระหว่างกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT).
    • ใช้สัดส่วนนี้ในการปันส่วนภาษีซื้อตามสัดส่วนที่เกิดกับทั้ง VAT และ NON VAT.
  3. การเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด:
    • หากไม่สามารถใช้หลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามรายได้หรือสัดส่วนได้ อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม และผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ (ข้อ 5 (7) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)).

ปัญหาการเฉลี่ยภาษีซื้อ

          การเฉลี่ยภาษีซื้อมันจะมีปัญหาในการปฎิบัติอยู่เสมอ เนื่องจากเกณฑ์ในการเฉลี่ยภาษีค่อนข้างยุ่งยาก ซึ่งผู้ประกอบการ ที่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อจะต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เพราะหากผิดพลาดแล้วอาจจะต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม สำหรับปัญหาที่พบอยู่เสมอในการเฉลี่ยภาษีซื้อ มีดังนี้

  1. กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการายได้สำหรับปีที่พึ่งเริ่มประกอบการหรือประกอบกิจการแล้วยังไม่มีรายได้ของปีที่ผ่านมา ซึ่งจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้อตามประมาณการรายได้ของปีที่คาดว่าจะเริ่มมีรายได้ แต่มีสิทธิขอเครดิตภาษีซื้อได้ไม่เกินกึ่งหนุ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยก็คือ ผู้ประกอบการ ประมาณรายได้ในส่วนกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มากกว่าร้อยละ 50 และขอเครดิตภาษีซื้อเกินกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ยซึ่งจะมีผลทำให้การยื่นภาษีซื้อของเดือนภาษีนั้นยื่นไว้เกินไป (ส่วนของภาษีซื้อที่เกินกึ่งหนึ่ง) ทำให้ต้องเสียเบี้ยวปรับและเงินเพิ่ม
  2. ฐานรายได้ในการเฉลี่ยภาษีซื้อเป็นฐานรายได้ตาม มาตรา 79 (ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม) และรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งเป็นรายได้ที่ต้องนำไปยื่นแบบ ภ.พ.30 หรือ ภ.ธ.40 ไม่ใช่รายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องยื่นแบบตาม ภ.ง.ด.50
  3. ในการเฉลี่ยภาษีซื้อจาการก่อสร้างอาคารมักจะมีปัญหาในการแบ่งแยกพื้นที่อาคารว่าส่วนใดเป็นพื้นที่อาคารที่ใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และส่วนใดของอาคารที่ใช้ในกิจการอื่น จึงต้องแบ่งแยกพื้นที่ของอาคารให้ชัดเจน ตามแนววินิจฉัยของกรมสรรพกร

          สำนักงานบัญชีมีบทบาทสำคัญในการบริหารการเงินและบัญชีของธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และบทบาทของสำนักงานบัญชีช่วยให้คุณเข้าใจว่าทำไมคุณควรจ้างบริการบัญชีจากเอซีซี คอนซัลติ้ง จำกัด เพื่อการบริหารการเงินของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ. ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ เรามีทีมงานคุณภาพที่พร้อมให้ความช่วยเหลือในทุกขั้นตอนของการบริหารการเงินของคุณ.

       สามารถติดต่อบริษัทของเราได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะค่ะ 

         ✅ โทร 📞 02-114-7715
         ✅ Web 🌐 https://www.accconsultingservice.com/
         ✅ Inbox 📩 http://m.me/100581915340875
         ✅ Line 📱 https://lin.ee/PhD3G7F
         ✅ Mail 📧 [email protected]
Facebook
Twitter
Pinterest

ความรู้/ข่าวสารที่คุณอาจสนใจ

By clicking “Accept”, you agree to the storing of cookies on your device to enhance site navigation, analyze site usage, and assist in our marketing efforts. Privacy Policy

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า